• EP42 Toyota War "สงครามโตโยต้า" ที่วัด "ความเร็ว" และ "ความคล่องตัว"
    Oct 22 2024

    ในปี 1986 ลิเบีย และ ชาด กำลังต่อสู้แย่งชิงพื้นที่ชายแดน ลิเบียมีกองกำลังที่ทันสมัยกว่า อาวุธครบมือ ทหาร 7,000 นาย รถถัง 300 คัน เครื่องบิน 60 ลำ แม้กระทั่งเฮลิคอปเตอร์

    ชาดไม่มีรถถัง แต่พวกเขามีสิ่งที่ลิเบียไม่มี นั่นคือ "รถโตโยต้า" พวกเขาติดตั้งปืนกล และเครื่องยิง RPG ไว้ท้ายรถกระบะ

    การต่อสู้ระหว่างรถ SUV กับรถถัง ดูเหมือนจะไม่มีทางชนะ แต่ผลลัพธ์กลับน่าเหลือเชื่อ

    ในปี 1987 ที่ยุทธการ Fada รถโตโยต้า สามารถเอาชนะกองพลยานเกราะของลิเบียได้ ลิเบียเสียรถถังไป 100 คัน! ในขณะที่ชาด เสียรถโตโยต้าไปแค่ 3 คัน

    จากนั้น รถโตโยต้า ก็บุกโจมตีฐานทัพอากาศ Ouadi Doum ของลิเบีย ซึ่งมีทหาร 5,000 นาย และมีกับระเบิดล้อมรอบ รถโตโยต้า ทำลายฐานทัพอากาศได้ เพราะด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และน้ำหนักที่เบา ทำให้ไม่เหยียบกับระเบิด

    พวกเขายังบุกฐานทัพอากาศ ที่อยู่ลึกเข้าไปในลิเบีย 200 กิโลเมตร โดยที่ฝ่ายลิเบียไม่ทันรู้ตัว ทำลายรถถังไป 70 คัน ยานเกราะ 30 คัน และเครื่องบิน 30 ลำ

    รถโตโยต้า เคลื่อนที่ได้คล่องแคล่วกว่ารถถัง ที่เชื่องช้า เทอะทะ และแม้ว่ารถโตโยต้าจะเสียหาย ก็มีช่างซ่อมในทุกหมู่บ้าน ที่สามารถซ่อมแซมได้ พวกมันยังคงวิ่งต่อไปได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในขณะที่รถถัง ถ้าตีนตะขาบขาด ก็เคลื่อนที่ไม่ได้ ไร้ประโยชน์

    Show More Show Less
    5 mins
  • EP41 "Nibbled to death by ducks" หรือ "ถูกเป็ดจิกตาย"
    Oct 13 2024

    ฆษณาเริ่มต้นจากการเป็นวิธีที่ดี ในการทำให้คนรู้จัก และทดลองใช้สินค้าใหม่ๆ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำโฆษณาที่โดดเด่น สนุกสนาน มันได้ผล เพราะทุกคนชอบ

    แต่แล้ว ก็มีหน่วยงาน "Health & Safety" ของวงการโฆษณา บอกว่า เราห้ามใช้เงิน โดยไม่รู้ว่ามันจะได้ผล เราต้อง "ทดสอบ" ทุกอย่างก่อน แล้วก็บอกว่า เราทำอะไรไม่ได้ ถ้าไม่มี "ข้อมูล" บอกว่าต้องทำอะไร แล้วอัลกอริทึมของสื่อ ก็บอกว่า เราต้องทำโฆษณาให้ถูก และฉายบ่อยๆ และในเมื่อโฆษณากลายเป็นสิ่งน่าเบื่อ เราไม่จำเป็นต้องใช้คนเขียน เราใช้ AI ทำโฆษณาได้เร็ว และถูกกว่า

    และในนามของ "ตรรกะ" เราก็ทำให้โฆษณากลายเป็นสิ่งน่าเบื่อ เหมือนกับสิ่งอื่นๆ

    Show More Show Less
    5 mins
  • EP40 ประวัติศาสตร์การแข่งรถ ที่ "ความคิดสร้างสรรค์" เอาชนะ "เทคโนโลยี"
    Oct 9 2024

    ช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 เยอรมนีครองความยิ่งใหญ่ในวงการมอเตอร์สปอร์ต รถแข่งเมอร์เซเดส และ ออโต้ ยูเนียน ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลแบบไม่อั้น พวกมันคือรถที่ดีที่สุด ทันสมัยที่สุด และทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา ถูกขนานนามว่า "ซิลเวอร์ แอร์โรว์ส" หรือ "ลูกศรเงิน"

    เป้าหมายสูงสุดของพวกเขาคือ การคว้าชัยชนะใน กรังด์ปรีซ์ ปี 1935 ณ สนามนูร์เบอร์กริง ในเยอรมนี ซึ่งถือเป็นเรื่องง่ายๆ เมอร์เซเดส และ ออโต้ ยูเนียน ส่งรถแข่งเข้าร่วมถึง 9 คัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะชนะ

    คู่แข่งของพวกเขาคือ รถยนต์รุ่นเก่า จากบริษัทเอกชนขนาดเล็ก หนึ่งในนั้นคือ อัลฟา โรเมโอ ที่มีนักแข่งฝีมือเยี่ยมอย่าง ทาซิโอ นูโวลารี่ แต่ตอนนั้น เขามีอายุถึง 43 ปีแล้ว

    รถแข่งเยอรมันมีขนาดใหญ่กว่า และทรงพลังกว่า อัลฟา โรเมโอ ของ นูโวลารี่ แต่ นูโวลารี่ มองเห็นสิ่งหนึ่งที่ชาวเยอรมันมองข้าม สนามนูร์เบอร์กริง ไม่ได้เน้นแค่พละกำลัง แต่มีโค้งถึง 174 โค้ง มันคือสนามที่ทดสอบ "ฝีมือ" ของนักแข่ง

    Show More Show Less
    6 mins
  • EP39 ใช้ประโยชน์จาก "แต้มต่อ" อย่ามองว่าเป็น "ข้อเสียเปรียบ"
    Oct 9 2024

    ครีเอทีฟเก่งๆ ส่วนใหญ่ มักเติบโตมาจากย่านที่ค่อนข้างลำบากในบรู๊คลิน พวกเขาเป็นเด็กยิวหรืออิตาเลียน ที่ผ่านโลกมาเยอะ และมี "ไหวพริบ" ในการเอาตัวรอดสูง ก่อนหน้านั้น วงการโฆษณาเต็มไปด้วยเด็กจบมหาวิทยาลัย จากครอบครัวมีฐานะ ซึ่งหลายคนอาจคิดว่า พวกเขาน่าจะมี "แต้มต่อ" มากกว่า แต่กลับกลายเป็นว่าไม่ใช่

    เด็กๆ ที่เติบโตมาในครอบครัวร่ำรวย มักถูกเลี้ยงดูมาแบบประคบประหงม ได้รับการศึกษาที่ดี แต่เป็นการศึกษาแบบ "วิชาการ" ในขณะที่เด็กๆ จากบรู๊คลิน ไม่ได้เรียนสูง แต่พวกเขามี "กึ๋น" จากประสบการณ์ชีวิตจริง พวกเขาไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ ภาษาละติน แคลคูลัส การเมือง หรือเศรษฐศาสตร์ แต่พวกเขาเรียนรู้ว่า "ชีวิตจริง" มันเป็นอย่างไร

    พวกเขาต้องฝึก "คิด" ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน มองหา "มุมมอง" ใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา อยู่เสมอ

    Show More Show Less
    5 mins
  • EP38 เรื่อง ส้วม กับการเปลี่ยน "ปัญหา" ให้เป็น "โอกาส"
    Oct 8 2024

    มีคนถึง 2,500 ล้านคน ที่ไม่มีโถส้วมแบบกดชักโครก พวกเขาต้องใช้ "ส้วมหลุม" ที่ขุดลงไปในดิน ซึ่งต้องใช้ร่วมกันหลายครอบครัว ไม่มีการกดน้ำ ปล่อยให้เต็มแล้วล้น สุดท้ายก็ต้องมีคนลงไป "ล้าง"

    น่าตกใจกว่านั้นคือ ยังมีคนอีก 1,100 ล้านคน ที่ไม่มีแม้กระทั่งส้วมหลุม! แล้วพวกเขาจะไปขับถ่ายที่ไหน? ก็ที่ไหนก็ได้ที่ทำได้ ข้างทาง หลังกระท่อม กลางทุ่งนา

    แล้วทำไมเราไม่สร้างห้องน้ำแบบกดชักโครกให้ทุกคนบนโลก? คำตอบง่ายๆ คือ "เป็นไปไม่ได้" ครับ มีคนมากเกินไป พื้นที่ไม่พอ การกดชักโครก ทิ้งของเสียไปเฉยๆ เป็นสิ่งที่เราทำได้เมื่อก่อน ตอนที่คนยังน้อย และมีพื้นที่เยอะ แต่ตอนนี้ เราทำแบบนั้นไม่ได้อีกแล้ว

    Show More Show Less
    5 mins
  • EP37 "You snooze, you lose", ช้ากว่าก็แพ้ กรณีศึกษาตู้กดเงิน ATM
    Oct 7 2024

    เชื่อหรือไม่ว่าทั่วโลกมีตู้ ATM มากถึง 3.24 ล้านเครื่อง! แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ เรื่องราวการคิดค้นตู้ ATM ก็มีจุดเริ่มต้นแบบ "British-bodge" คือไม่ได้เกิดจากทีมวิศวกรในห้องแล็บสุดไฮเทค แต่มาจากไอเดียของชายชาวสก็อตแลนด์สุดเพี้ยนคนหนึ่งชื่อ จอห์น เชพเพิร์ด-แบร์รอน

    ย้อนกลับไปในยุค 1950s คุณจอห์นอยากกดเงินสดจากธนาคาร แต่ธนาคารดันปิดตอนบ่าย 3 โมง! เขาเลยอด เสียเงินตัวเองในบัญชีตัวเองซะงั้น ด้วยความหัวเสีย ระหว่างที่แช่น้ำในอ่างอาบน้ำ ความคิดก็แวบเข้ามาในหัว... ทำไมไม่สร้างเครื่องจ่ายเงินสดเหมือนตู้ขายช็อกโกแลตละ?

    Show More Show Less
    5 mins
  • EP36 "คำตอบ" ที่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ "โจทย์" เพียงอย่างเดียว
    Oct 6 2024

    เรื่องของ อัลมอน บราวน์ สโตรว์เกอร์ สัปเหร่อผู้ปฏิวัติวงการโทรศัพท์ ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1889 ที่เมืองแคนซัสซิตี สโตรว์เกอร์เป็นหนึ่งในสองสัปเหร่อของเมือง แต่ธุรกิจของเขากลับไม่ประสบความสำเร็จ ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกใช้บริการของคู่แข่ง ทำให้เขามีเวลาว่างเหลือเฟือ

    วันหนึ่ง เขาได้ค้นพบความจริงที่น่าตกใจ ภรรยาของสัปเหร่อคู่แข่ง ทำงานเป็นโอเปอเรเตอร์ชุมสายโทรศัพท์ เธอแอบโอนสายลูกค้าที่โทรมาหาสโตรว์เกอร์ ไปให้สามีของเธอเอง! สโตรว์เกอร์โกรธมาก แต่แทนที่จะไปทะเลาะกับคู่แข่ง เขาใช้ความโกรธเป็นแรงผลักดัน ประดิษฐ์คิดค้น "ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ" ขึ้นมา เพื่อขจัด "ตัวกลาง" อย่างโอเปอเรเตอร์ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของระบบโทรศัพท์ที่เราใช้กันในปัจจุบัน

    เรื่องที่สอง โรงเรียนแห่งหนึ่งในอังกฤษ ประสบปัญหาเด็กนักเรียนชายทะเลาะวิวาทกันบ่อยครั้ง ทางโรงเรียนลองใช้หลายวิธี แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จนกระทั่ง ครูใหญ่คนใหม่ ซึ่งเคยทำงานในอินเดีย ได้นำ "วิธีการควบคุมช้างตกมัน" มาประยุกต์ใช้"แยก" เด็กนักเรียนชายที่ชอบก่อเรื่อง ออกจากกลุ่มเพื่อน แล้วให้ไปทำกิจกรรมต่างๆ กับ "นักเรียนหญิง" แทน ผลปรากฏว่า พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนชายลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะพวกเขาไม่อยากแสดงความก้าวร้าวต่อหน้าเด็กผู้หญิง

    Show More Show Less
    5 mins
  • EP35 ไอเดียยิ่งใหญ่จากไม้จิ้มฟัน กรณีศึกษาอาหารออแกนิกกำมะลอ
    Apr 29 2024

    เมื่อมีนิทรรศการเกี่ยวกับอาหารชั้นเลิศ รวมตัวเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารออแกนิก สองคนได้เข้าร่วมและนำเสนอไอเดียของอาหารใหม่ โดยชี้นำความคิดของผู้บริโภค และผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นด้วยคำว่า อาหารออแกนิค ดีกว่าฟาสฟู๊ดส์ โดยใช้แค่ไม้จิ้มฟันมาเป็นเครื่องมือหลัก

    Show More Show Less
    5 mins